วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภาพที่แสนดีใจ

ภาพถ่ายวันงานรับขวัญน้องปี 1/ 2552
คุณพ่อจริยะ วิโรจน์
เคยสอนวิชาการสัมมนาเพื่อการศึกษา ปี 1/1 2551

คุณแม่อังคณา โรจนไพบูรณ์
สอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ปี 2/1 2552


วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ตอบคำถามหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
1.เทคโนโลยีทางการศึกษา
หมายถึง การนำเอาความรู้และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติการใหม่ๆทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2.
1)เทคโนโลยีทางการอาหาร
2)เทคโรโลยีทางการแพทย์
3)เทคโนโลยีทางการเกษตร
4)เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
5)เทคโนโลยีทางการค้า
3.ทัศนะทางสื่อหรือวิทยศาสตร์ทางกายภาพมุ่งไปที่วัสดุหรือผลผลิตทางวิสวกรรมเป็นสำคัญส่วนทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์
4.
1)บุคคลธรรมดาสามัญเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2)บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษาเป็นการศึกษาศิลปะถ่ายทอดความรู้จากอดีต
3)บุคคลที่เป็นนักศึกษา
3.1 ทัสนะแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญกับส่วนรวมก่อนการศึกษา
3.2 ทัศนะเสรีนิยมมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญ
5.
1)ระดับอุปกรณ์การสอน
2) ระดับวิธีสอน
3) ระดับการจัดระบบการศึกษา
6.เทคโนโลยีคือเครื่องมือที่แปลกใหม่ทันสมัยสลับซับซ้อนเครื่องยนต์กลไกไฟฟ้า นวัตกรรมคือความคิดและการกระทำใหม่ๆ
7.
1)ขั้นการประดิฐ์คิดค้น
2)ขั้นการพัฒนาหรือขั้นการทดลอง
3)ขั้นการนำไปปฏิบัติจริง
8.
1)ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้นได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียน
2)สนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลมีอิสระในการแสวงความรู้
3)ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น ค้นพบวิธีการใหม่ๆ
4)มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสื่อการสอน
5)ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว
9.
1)การสอนแบบโปรแกรม
2)ศูนย์การเรียน
3)ชุดการสอน
10.
1)การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้านต่างๆเช่นการขาดแคลนอาหาร
2)การเปลี่ยนแปลงทางเศรศฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มของประชากรทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรน
3)ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ทันกับเครื่องมือที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
11.
1)คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2)คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3)คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะอันพึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
12.
1)กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2)สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3)รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่
4)รู้จักแสวงหาความรู้เอง
5)มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม.
1.ระบบ (System)

หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ วิธีระบบ(System Approach) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงาน

2.องค์ประกอบของระบบ ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้

2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้
2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป

3.วิธีระบบกับการเรียนการสอน

เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน

4.รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE

เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้ A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน
1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม
2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ
1.) วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย
2. )เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข
3.) เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนR = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรงE = EVALUATION การประเมินผล

5 . การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. วิธีการออกแบบการสอน

1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน)
2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ)
4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินผลการเรียนการสอน)

7.เช่น การจัดทำโครงการ สิ่งนำเข้า การกำหนดจุดมุ่งหมาย กระบวนการ การลงมือทำให้เหมาะสมบรรลุจุดมุ่งหมาย การนำผลผลิตที่ได้มาแก้ปัญหาแล้วประเมิน การตรวจสอบประสิทธิภาพ


ชุมพร เนตรฐา คบ.2 สังคมศึกษา

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความหมายการสื่อสารและการเรียนรู้

ความหมายการสื่อสารและการเรียนรู้
ความหมายของ "การสื่อสาร"
การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "communius" หมายถึง "พร้อมกัน" หรือ "ร่วมกัน" (common) หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง "ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน" ทางด้านความคิดเรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วยนั้น ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง "ระบบ" (เช่น ระบบโทรศัพท์) เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (Webster's Dictionary 1978 : 98) นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ตลอดจนเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย (Fiske 1985:2)


ความหมายโดยสรุป การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคลกลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้แนวความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน เพื่อให้ผู้รับได้รับทราบข่าวสารร่วมกัน


ลักษณะของการสื่อสาร
1. วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ

1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น (Eyre 1979:31) หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น

รูปแบบของการสื่อสาร
2. รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

2.1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น


ประเภทของการสื่อสาร
3. ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

3.1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
3.4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เรี่ยกัน

องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง

2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเอง

องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับไปยังผู้สอน

เปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสารกับการเรียนการสอน
องค์ประกอบ
การสื่อสาร
การเรียนการสอน
1. ผู้ส่ง
ผู้อ่านข่าว นักร้อง นักเขียน จิตรกร ฯลฯ
ครู วิทยากร ผู้บรรยาย ฯลฯ
2. เนื้อหา
ข่าว เพลง ภาพ บทกลอน บทความ คำบรรยาย
บทเรียน
3. สื่อ
ภาษาพูด ภาษาเขียน สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
ภาษาต่าง ๆ ตำราเรียน วิทยุ โทรทัศน์
4. ผู้รับ
ผู้ชม ผู้ฟัง บุคคล กลุ่มชน ฯลฯ
ผู้เรียน ผู้รับการอบรม ฯลฯ
5. ผล
ความเข้าใจ ไม่เข้าใจ พอใจ ไม่พอใจ ฯลฯ
ความเข้าใจหรือไม่เข้าใจในบทเรียนนั้น
6. ปฏิกิริยา สนองกลับ
ยิ้ม ปรบมือ หาว ง่วงนอน พยักหน้า ตอบคำถาม
ยิ้ม ปรบมือ หาว ง่วงนอน พยักหน้า ตอบคำถาม

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โดยทีมงาน

ณ ร้านไอศครีม ที่ชะอำ ไปดูงานกับนักศึกษาแม่ต้าน รุ่น 2



รอยยิ้มที่รุ่นพี่เห็นแล้วมีความสุข

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาพโดยพี่ฝุ่น

ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ปี 2551 ณ ด้านหน้าตึก 4

ถ้าเธอไม่มีใครโปรดรู้ไว้ว่าฉันอยู่เคียงข้างเธอเสมอ

เพลงยังมี
1
เธอเคยบอกว่าเธอไม่มีแม้ใคร-สักคนหนึ่ง คงไม่ว่าอย่างน้อยยังมีฉันไง


(ซ้ำ)......วันใดที่เธอมีเพื่อนรุมล้อมเธอหรือยังมีใคร เธอก็จะไม่เห็นฉันเลยคนดี


2
แม้วันใดหัวใจเธอพ่าย จะมาแพ้ไปกับเธอ


และถ้ามีวันใดน้ำตาเธอเอ่อ จะร้องไห้เป็นเพื่อนกัน


หากเธอสมหวังในวันหนึ่ง ให้รู้ว่าฉันยังแอบเห็นและชื่นชม


หากเธอท้อแท้ฉันยังอยู่ หากแม้นไม่เห็นฉัน


จงโปรดรู้ไว้ว่า...............เธอ ใช่อยู่คนเดียว




(ซ้ำ) 123

3
หากแม้นไม่เห็นฉัน จงโปรดรู้ไว้ว่า........ยังมี