วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภาพที่แสนดีใจ

ภาพถ่ายวันงานรับขวัญน้องปี 1/ 2552
คุณพ่อจริยะ วิโรจน์
เคยสอนวิชาการสัมมนาเพื่อการศึกษา ปี 1/1 2551

คุณแม่อังคณา โรจนไพบูรณ์
สอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ปี 2/1 2552


วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ตอบคำถามหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
1.เทคโนโลยีทางการศึกษา
หมายถึง การนำเอาความรู้และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติการใหม่ๆทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2.
1)เทคโนโลยีทางการอาหาร
2)เทคโรโลยีทางการแพทย์
3)เทคโนโลยีทางการเกษตร
4)เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
5)เทคโนโลยีทางการค้า
3.ทัศนะทางสื่อหรือวิทยศาสตร์ทางกายภาพมุ่งไปที่วัสดุหรือผลผลิตทางวิสวกรรมเป็นสำคัญส่วนทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์
4.
1)บุคคลธรรมดาสามัญเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2)บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษาเป็นการศึกษาศิลปะถ่ายทอดความรู้จากอดีต
3)บุคคลที่เป็นนักศึกษา
3.1 ทัสนะแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญกับส่วนรวมก่อนการศึกษา
3.2 ทัศนะเสรีนิยมมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญ
5.
1)ระดับอุปกรณ์การสอน
2) ระดับวิธีสอน
3) ระดับการจัดระบบการศึกษา
6.เทคโนโลยีคือเครื่องมือที่แปลกใหม่ทันสมัยสลับซับซ้อนเครื่องยนต์กลไกไฟฟ้า นวัตกรรมคือความคิดและการกระทำใหม่ๆ
7.
1)ขั้นการประดิฐ์คิดค้น
2)ขั้นการพัฒนาหรือขั้นการทดลอง
3)ขั้นการนำไปปฏิบัติจริง
8.
1)ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้นได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียน
2)สนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลมีอิสระในการแสวงความรู้
3)ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น ค้นพบวิธีการใหม่ๆ
4)มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสื่อการสอน
5)ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว
9.
1)การสอนแบบโปรแกรม
2)ศูนย์การเรียน
3)ชุดการสอน
10.
1)การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้านต่างๆเช่นการขาดแคลนอาหาร
2)การเปลี่ยนแปลงทางเศรศฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มของประชากรทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรน
3)ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ทันกับเครื่องมือที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
11.
1)คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2)คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3)คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะอันพึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
12.
1)กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2)สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3)รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่
4)รู้จักแสวงหาความรู้เอง
5)มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม.
1.ระบบ (System)

หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ วิธีระบบ(System Approach) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงาน

2.องค์ประกอบของระบบ ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้

2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้
2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป

3.วิธีระบบกับการเรียนการสอน

เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน

4.รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE

เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้ A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน
1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม
2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ
1.) วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย
2. )เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข
3.) เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนR = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรงE = EVALUATION การประเมินผล

5 . การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. วิธีการออกแบบการสอน

1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน)
2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ)
4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินผลการเรียนการสอน)

7.เช่น การจัดทำโครงการ สิ่งนำเข้า การกำหนดจุดมุ่งหมาย กระบวนการ การลงมือทำให้เหมาะสมบรรลุจุดมุ่งหมาย การนำผลผลิตที่ได้มาแก้ปัญหาแล้วประเมิน การตรวจสอบประสิทธิภาพ


ชุมพร เนตรฐา คบ.2 สังคมศึกษา